1/5/54

การผสมเกสรกล้วยไม้

          กล้วยไม้ เป็นพืชที่มีลักษณะของเกสรใหญ่ที่สุดในบรรดาพฤกษาพรรณ การผสมพันธุ์พืชชนิดนี้จึงทำได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้ กล้วยไม้ จึงเป็นพืชที่ถูกมนุษย์ทำให้เกิดความหลากหลายมากที่สุดบนโลกใบนี้นั่นเองครับ
สำหรับการผสมเกสรนั้น มี 2 ลักษณะครับ 


ภาพ การผสมแบบ Self

อย่างแรก เราเรียกว่าการ การผสมตัวเอง (self pollination) ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า ต้นนี้ self ก็หมายถึง การ ผสมตัวเองนี่แหละครับ ลักษณะนี้ เป็นการนำเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียภายในดอกเดียวกัน หรือ ต่างดอก แต่ อยู่ ในช่อเดียวกัน หรือ ต้นเดียวกัน มาผสมกันกันเองครับ ลักษณะนี้ ลูกที่ได้จะมีลักษณะเหมือนพันธุ์แท้ทุกประการ หรือ แตกต่างออกไปเล็กน้อย แต่ด้วยวิธีนี้ ลูกไม้มักจะไม่หลากหลาย บางครั้งเมื่อนำพันธุ์แท้ต้นสวยมาผสมตัวเอง ลูกที่ได้อาจตีกลับ กลายเป็นต้นไม่สวยก็มีครับ ด้วยความที่ให้ลูกไม่หลากหลาย และให้ลูกที่คล้ายกับต้นเดิม จึงไม่ ค่อยเหมาะแก่การพัฒนาสายพันธุ์นัก เว้นเสียแต่ว่า ต้องการรักษาชนิดต้นนั้น ๆ ให้คงไว้ เช่น เขาแกะเผือก ผสม ตัวเอง เพื่อจะเพิ่มจำนวนเขาแกะเผือกเผื่อว่าต้นแม่ตายจะได้ไม่สูญพันธุ์ เป็นต้น 

อย่างที่สอง การผสมข้ามเกสร (cross pollination) เป็นการผสมเกสรตัวผู้เข้ากับตัวเมีย ที่ไม่ใช่ต้นเดียวกันสามารถทำได้ 3 ลักษณะคือ

ภาพ การผสมข้ามต้น

1. การผสมข้ามต้น (interclonal) เป็นการผสมกล้วยไม้ชนิดพันธุ์เดียวกัน แต่ว่าเป็นคนละต้นกัน เช่น การนำสายน้ำครั่งสั้น 2 ต้น มาผสมกัน โดยต้นที่ 1 และ ต้นที่ 2 ไม่ใช่ต้นเดียวกัน(แบบในภาพ) มาผสมกัน ลูกที่ได้ ก็ยังใช้ชื่อ สายน้ำครั่งสั้นเหมือนเดิม และยังเป็นพันธุ์แท้ดั่งเดิม ลักษณะลูกที่ได้ จะมีลักษณะที่หลากหลายมากขึ้น เช่น หากนำต้น ดอกใหญ่ สีอ่อน ผสมเข้ากับ ต้นดอกเล็กสีเข้ม ลูกที่ได้ อาจจะมีทั้งดอกใหญ่สีเข้ม ดอกใหญ่สีอ่อน ดอกเล็กสีอ่อน และ ดอก เล็กสีเข้ม เป็นต้น หากใช้สายพันธุ์ที่สวยทั้งคู่ โอกาสที่จะได้ลูกไม้ที่สวยขึ้นก็มีมากเช่นกัน ลักษณะนี้จึงเหมาะแก่ การผสมเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ไม้พันธุ์แท้

ภาพ การผสมข้ามระหว่างชนิด

2. การผสมข้ามระหว่างชนิด (interspecific) เป็นการผสมกล้วยไม้ต่างชนิด แต่อยู่ในสกุลเดียวกัน เช่น การผสม พวงหยก กับ สายน้ำครั่ง ตามภาพด้านบน ซึ่งทั้งสองอยู่ในสกุลหวาย (dendrobium) เช่นเดียวกัน ลูกที่ได้จะมีชื่อเปลี่ยนไป และไม่ใช่พันธุ์ แท้ รูปทรงของดอกและลักษณะต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน การผสมลักษณะนี้จะทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่ยัง อยู่ในสกุลเดิม เหมาะสำหรับการพัฒนาสายพันธุ์ไม้ลูกผสมสกุลเดิม

ภาพ การผสมข้ามระหว่างสกุล

3. การผสมข้ามระหว่างสกุล (intergeneric) เป็นการผสมกล้วยไม้ ข้ามสกุล เช่น ช้าง(Rhyncho) ผสมกับ ลิ้นกระบือ (Hygrochilus) ลูกที่ได้จะกลายเป็นสกุลใหม่ ชื่อใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อของผู้ผสมที่ไปจดทะเบียนขึ้นบัญชีครับ หลักการเปลี่ยนสกุลก็ง่าย ๆ แค่จับชื่อสกุลชนกันเท่านั้น เช่น Ascocentrum x Vanda = Ascocenda ตัดหัวตัดท้ายนิดหน่อย เท่านั้นเองครับ ลักษณะนี้เหมาะแก่การ พัฒนาสายพันธุ์ให้ได้ลูกออกมาหลากหลายแตกต่างและสวยขึ้นครับ 
****การผสมกล้วยไม้บางครั้งจับคู่หลุดโลกกันมาก ๆ ก็ไม่สามารถเข้ากันได้ เช่น รองเท้านารี x เอื้องสายหลวง เป็นต้น ถ้าทำได้หน้าตาออกมาคงพิลึกพิลั่นน่าดูชมเชียวครับ ...!





วิธีการออกขวดกล้วยไม้







สวัสดีครับ วันนี้ผมมี เทคนิคและวิธีการออกขวดกล้วยไม้แบบง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้าน สำหรับท่านที่เป็นมือใหม่ หัดขับ ง่ายๆครับ ทำครั้งแรกอาจตื่นเต้นเล็กน้อย มืออาจจะสั่นไปบ้าง เดี๋ยวพอขวดต่อไป ฉลุยเลยครับทีนี้ เอ้า!โม้มาเยอะแล้ว มาลองดูแบบ Step By Step กันเลยดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมไม้ขวดที่เราจะออกขวดให้พร้อม ในที่นี้ผมขอยืมรูปเจ้า M&M-35 มาให้ชมครับ 


ขั้นตอนที่ 2 : เตรียม อุปกรณ์ เช่น ค้อนเล็ก กระดาษ นสพ. ถุงปุ๋ย ผ้าขี้ริ้ว ตะกร้าพลาสติกเล็ก(ขโมยแม่มา) หรืออะไรก็ได้ที่ หยิบฉวยได้จังหวะนั้น


ขั้นตอนที่ 3 : นำนักโทษขึ้นแท่นประหารได้ อิๆ(ขำๆนะครับ) ก่อนจะทุบ ควรจะเขย่าให้ ต้นที่อยู่ทางก้นๆขวด ไหลมา กองตรงปากขวดเสียก่อนะครับ จะได้ไม่ช้ำ


ขั้นตอนที่ 4 : นำผ้าที่หนาๆหน่อย มาห่อทั้งขวดยกเว้น ตรงก้นขวดที่เราจะ เฉาะ! ลงไป ทำไมน่ะเหรอครับ? ก็ช่วยป้องกันมือคนเฉาะไงครับ ไม่งั้นมือจะแหกเอาง่ายๆนะ


ขั้นตอนที่ 5 : โป๊กเข้าให้! อ้าวแล้วลูกไม้หายไปไหน ใจเย็นครับใจเย็น รูปนี้ผมถ่ายตอนเอาลูกไม้ลงไปว่ายน้ำแล้วต่างหาก จากรูปจะแสดงให้ดูว่าเวลาเราทุบขวดไปแล้ว พวกเศษแก้ว มันจะหล่นลงไปในถุงปุ๋ยพอดีเลย


ขั้นตอนที่ 6 : เมื่อเราทุบขวดแล้ว ทีนี้เจ้าช้างน้อยๆของเราก็ได้ออกมาสูดอากาศภายนอกเป็นครั้งแรกสักที ปล่อยไหลๆ


ขั้นตอนที่ 7 : นำลูกช้าง วางบนอะไรก็ได้ครับ แล้วแต่จะหามาลอง บางท่านวางบนแผ่นโฟม แต่ผมเล่น หนังสือพิมพ์เลย จากนั้น ตรวจเช็คสภาพโดยรวมๆ ว่ามีตรงไหน บุบสลายไปบ้างไม๊ อย่างในรูปนี่ ต้องเรียกว่า "มืออาชีพ" ครับ กรั่กๆ ว่าไปนั่น


ขั้นตอนที่ 8 : ได้เวลาพาเจ้าช้างน้อยไปว่ายน้ำกันได้แล้ว สำหรับผมใช้น้ำฝนจากตุ่ม หรือ หากเป็นน้ำปะปา ก็ควรลองทิ้งไว้ 1 คืน แล้วค่อยนำมาใช้จะดีกว่าครับ แช่ไว้ประมาณ 20 นาที พอให้รากมันนิ่มจะได้แกะได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนนี้ต้องระวังเป็นพิเศษนะครับ ใจเย็นๆค่อยๆแกะไป มือเบาๆ ให้รากมันหักน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้


ขั้นตอนที่ 9 : เมื่อแกะรากเสร็จเรียบร้อย ทีนี้ก็นำเจ้าช้างน้อยทั้งหมด ไปใส่ อีกกะละมัง ซึ่งเราได้ ผสมยากันเชื้อราแบบ จางๆเอาไว้ก่อนแล้ว ย้ำนะครับ ว่าผสมเพียงจางๆเท่านั้น ในภาพจะสังเกตเห็น วุ้นที่เราล้างออกจากราก จมอยู่ที่ก้น กะละมัง


ขั้นตอนที่ 10 : แช่เจ้าลูกช้างไว้ในอ่างที่มียากันเชื้อราผสมอยู่แบบ จางๆ ประมาณ 10 นาทีก็พอครับ (ผมใช้ คาร์เบนดาซิม)


ขั้นตอนที่ 11 : นำขึ้นมาเรียงลงในกระตร้าแล้วแต่จะหาได้นะครับ เขียนชื่อ รหัสไม้ และ วันที่ ออกขวดให้เรียบร้อย จะได้จำได้ว่าอะไรเป็นอะไร


ขั้นตอนที่ 12 : รูปแสดงตัวอย่าง ที่ป้ายชื่อกำกับประจำตะกร้า


ขั้นตอนที่ 13 : นำไม้ทั้งตะกร้า ไปวางในที่อากาศถ่ายเทได้ดีสักหน่อย เพื่อผึ่งลมให้แห้ง ควรวางไว้ในที่ร่มนะครับ สัก 1-2 วัน และควรสเปร์น้ำวันที่ 3 บ้างพอให้ชื้นๆ การให้ปุ๋ยเกร็ด ควรผสมจางๆก่อนนะครับ ให้อาทิตย์ละครั้ง จากนั้น สังเกตุว่า ต้นเริ่มแทงรากใหม่หรือไม่ โดยเฉลี่ยก็ประมาณ 1-2 เดือน แล้วแต่การดูแล เป็นอันเสร็จพิธีการอนุบาล ลูกช้างเบื้องต้นครับผม



>>>>>>>>>>>>>>>>มาดูแบบเป็นวีดีโอกันบ้างน๊ะคร๊ะ<<<<<<<<<<<<<<

http://www.tjorchid.com/technic/%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89.html


กล้วยไม้ป่าในเมืองไทย


             กล้วยไม้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นกล้วยไม้อากาศ (Epiphytic orchid) ที่เกาะอยู่ตามลำต้นหรือกิ่งก้าน ของไม้ใหญ่ รวมทั้งตามโขดหิน กลุ่มนี้มีประมาณ 65% ของกล้วยไม้ในเมืองไทยทั้งหมด เช่น มาลัยแดง เอื้องคำ ช้างกระ สามปอยขุนตาล เอื้องพญาไร้ใบ เอื้องมอนไข่ กล้วยไม้อากาศไม่ใช่กาฝากที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้อื่น เพียงแต่ใช้พื้นที่ในการเกาะอาศัยเท่านั้นรากจะดูดกินอาหารจากธาตุอาหาร ที่ปะปนมากับน้ำฝนหรือน้ำค้าง
            อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกล้วยไม้ดิน (Terrestrial orchid) ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินทั่วไป มีประมาณ 35% เช่น ยี่โถปีนัง รองเท้านารีคางกบ เอื้องม้าวิ่ง ทั่วโลกมีกล้วยไม้ราว ๆ 25,000 ชนิด ในเมืองไทยมีมากถึง 1,150 ชนิด

มาลัยแดง :
พบตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบทางภาคเหนือและอีกสาน  


รองเท้านารีเมืองกาญจน์ : 
พบทางป่าดิบเขาบนทิวเขาตะนาวศรี
ช้างกระ :
พบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
ร้องเท้านารีอินทนนท์ :
พบตามป่าดิบทางภาคเหนือและอีสาน
ฟ้ามุ่ย :
พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
รองเท้านารีคางกบใต้ :
พบทางป่าดิบชื้นทางภาคใต้
สิงโตอาจารย์เต็ม :
กล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก พบตามป่าดิบเขา บนเขาหลวงนครศรีธรรมราช 
เอื้องดาวเรียง :
พบตามป่าดิบชื้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้
ยี่โถปีนัง :
เป็นกล้วยไม้ดินพบตามป่าบริเวณไหล่เขา  
เอื้องม้าวิ่ง :
พบตามลานหิน ในป่าสนเขาทางภาคอีสาน
เอื้องคำ :
พบตามป่าผลัดใบทางภาคเหนือ และภาคอีสาน  

สามปอยขุนตาล :
พบตามป่าดิบหรือป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือและอีสาน
รองเท้านารีปีกแมลงปอ :
พบทางป่าดิบทาง ภาคอีสาน 
เอื้องพญาไร้ใบ :
พบตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณใน ภาคเหนือ
เอื้องปากนกแก้ว :
พบทางภาคใต้ 

เอื้องชะนี :
พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
เอื้องมอนไข่ :
พบตามป่าดิบทางภาคเหนือและอีสาน 

หนวดพราหมณ์ดอย :
พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
เอื้องสำเภางาม :
พบตามพื้นป่าสนเขาทางภาคอีสาน
 
รองเท้านารีเมืองกาญจน์ :
พบทางป่าดิบเขาบนทิวเขาตะนาวศรี

ร้องเท้านารีอินทนนท์ :
พบตามป่าดิบทางภาคเหนือและอีสาน
รองเท้านารีคางกบใต้ :
พบทางป่าดิบชื้นทางภาคใต้
เอื้องดาวเรียง :
พบตามป่าดิบชื้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้
เอื้องม้าวิ่ง :
พบตามลานหิน ในป่าสนเขาทางภาคอีสาน
สามปอยขุนตาล :
พบตามป่าดิบหรือป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือและอีสาน
เอื้องพญาไร้ใบ :
พบตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณใน ภาคเหนือ
เอื้องชะนี :
พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
หนวดพราหมณ์ดอย : 
พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ

กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส Phalaenopsis







                กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส ปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงามทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออกดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกัน บางชนิดออกดอกในเดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอกสนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้น

               กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมีใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่ ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบอวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม. ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็นหลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังสามารถผสมข้ามสกุลกับสกุลกล้วยไม้สกุลต่างๆ ได้หลายสกุล เช่น ผสมกับสกุลแวนด้า ผสมกับสกุลอะแรคนิส ผสมกับสกุลเรแนนเทอร่า เป็นต้น
                การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสลงกระถางหรือกระเช้าไม้ ควรตั้งต้นกล้วยไม้ตรงกลางให้โคนต้นส่วนเหนือรากอยู่ต่ำกว่าระดับขอบภาชนะปลูกเล็กน้อย การวางต้นกล้วยไม้สูงเกินไปจะทำให้รากกล้วยไม้ได้รับความชื้นไม่เพียงพอ แต่ถ้าปลูกต่ำเกินไปกล้วยไม้ก็จะอยู่ในสภาพที่ชื้นหรือแฉะเกินไป การใส่เครื่องปลูกควรใส่แค่กลบรากเท่านั้น อย่าใส่เครื่องปลูกมากเกินไปจนกระทั่งสูงขึ้นมากลบส่วนของส่วนโคนต้นเพราะอาจจะทำให้โคนต้นแฉะและโคนใบเน่าได้ การปลูกควรปลูกก่อนเข้าฤดูฝนคือประมาณเดือนมีนาคม ถ้าปลูกในฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูงและกล้วยไม้กำลังอวบน้ำ อาจทำให้ใบและยอดเน่าได้
 เขากวาง(Phalaenopsis cornucervi (Breda) Bl. & Rchb. f.)
             พบกระจายพันธุ์ตามธรรฒชาติในประเทศไทยแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ยกเว้นภาคกลาง เขากวางออกดอกเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบสีเขียวอมเหลือง มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหรืออาจไม่มี ซึ่งชนิดที่ไม่มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหาได้ยาก โคนกลีบปากกระดกขึ้น ดูเป็นหลอดยาว ปลายกระดกขึ้นสีขาว มีริ้วสีชมพูอมม่วงกระจาย ดอกขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ดอกดกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
   กาตาฉ่อ(Phalaenopsis decumbens Holtt.)
               พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกเป็นช่อ 8-10 ดอก กลีบสีขาว โคนมีจุดหรือขีดสีม่วง โคนและปลายกลีบดอกกระดกขึ้น สีขาว ด้านโคนสีม่วง ดอกขนาด 4-6 ซม. ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกเดือนพฤศจิกายนถึงมีนา

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ Aerides




          กล้วยไม้สกุลกุหลาบ เป็นกล้วยไม้ที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ อาจขึ้นเป็นต้นเดียวโดดๆ หรือขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว บางต้นมียอดเดียว บางต้นแตกเป็นกอ มีหลายยอด เมื่อต้นสูงหรือยาวขึ้นจะห้อยย้อยลงมา แต่ปลายยอดยังคงชี้ขึ้นข้างบน ช่อดอกส่วนใหญ่โค้งปลายช่อห้อยลงมา รากเป็นระบบรากอากาศ ดอกมีขนาดปานกลาง มักมีกลิ่นหอม มีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ กลีบดอกผึ่งผายสวยงามสะดุดตา เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย มีบทบาทสำคัญในการผสมพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ สามารถผสมในสกุลเดียวกัน และผสมข้ามสกุลต่างๆ เช่น ผสมกับสกุลแวนด้าเป็นสกุลแอริโดแวนด้า (Aeridovanda) ผสมกับสกุลช้างเป็นสกุลแอริโดสไตลิส (Aeridostylis) สำหรับกล้วยไม้สกุลกุหลาบที่พบตามธรรมชาติในประเทศไทยมีดังนี้
 กุหลาบกระเป๋าปิด(Aerides odorata Lour. )
                กุหลาบกระเป๋าปิดเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลกุหลาบที่ส่วนปลายปากแคบกว่าหู และทั้ง 2 ส่วนพับขึ้นมาปิดเส้าเกสรไว้ พบขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า อินเดีย เนปาล และภูฎาน
               กุหลาบกระเป๋าปิดมีลำต้นบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ต้นห้อยย้อยลง มักแตกแขนงเป็นหลายยอด ต้นอาจยาวถึง 1 เมตรครึ่ง ใบยาวประประมาณ 15-25 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร เรียงสลับซ้ายขวา ปลายใบหยักไม่เท่ากัน ใบค่อนข้างบางไม่แข็งทื่อ ขอบใบบิดเล็กน้อย โคนใบหุ้มต้น ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอกยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตรและห้อยลง แต่ละช่อมีประมาณ 30 ดอก แต่ละดอกกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีม่วงอมแดงอ่อนๆ ส่วนปลายปากเป็นสีม่วง เดือยดอกโค้งงอนขึ้นคล้ายเขาดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดอกกุหลาบและบานนานประมาณ 1-2 สัปดาห์
               สำหรับกุหลาบกระเป๋าปิดที่พบทางภาคเหนือ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือต้นจะตั้งตรงและบิดน้อยกว่า ใบสั้นกว่าและหนากว่า ก้านส่งช่อดอกแข็งทำให้ช่อดอกโค้งลงเพียงเล็กน้อย
 กุหลาบเหลืองโคราช(Aerides houlettiana Rchb. f )
                กุหลาบเหลืองโคราชมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบกระเป๋าเปิด แต่มีพื้นกลีบเป็นสีเหลืองแทนที่จะเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นตะไคร้ ความยาวของใบและของช่อดอกจะสั้นกว่ากุหลาบกระเป๋าเปิด ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบใน ประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม
               กุหลาบเหลืองโคราชออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม จุดเด่นของกุหลาบเหลืองโคราชอยู่ตรงที่มีสีเหลือง ในแต่ละต้นจะมีความผิดเพี้ยนกันไป คือ อาจมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน หรือบางต้นแทบไม่มีสีเหลืองเลย ในการคัดพันธุ์ควรเลือกสีเหลืองเข้มเป็นหลัก เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ในประเทศไทยมีชนิดนี้เพียงชนิดเดียวที่ดอกมีสีเหลือง
 กุหลาบแดง(Aerides crassifolia Parish ex Burbidge)
                กุหลาบแดงเป็นกุหลาบที่มีเดือยดอกยาวเห็นได้ชัดเจน เดือยงอนขึ้นและไม่ซ่อนตัวอยู่ใต้ปลายปาก ใบยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ใบหนา ผิวใบอาจย่นมากหรือน้อย โดยย่นตามขวางของใบ ในประเทศไทยพบที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งที่นครนายกและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบในประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม
               กุหลาบแดงออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอกเท่านั้น ดอกมีสีม่วงแดง การจัดระเบียบดอกในช่อไม่งดงามเหมือนกล้วยไม้กุหลาบชนิดอื่น
 กุหลาบอินทจักร(Aerides flabellata Rolfe ex Downie)
                กุหลาบอินทจักรเป็นกุหลาบเดือยยาวชนิดเดียวที่ฝาครอบอับเรณูกว้างและมนซึ่งชนิดอื่นจะแหลมเป็นปากกา ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือ และพบในพม่า ลาว และมณฑลยูนานของจีน
               กุหลาบอินทจักรมีก้านช่อดอกค่อนข้างแข็ง ช่อดอกตั้ง ออกดอก 5-10 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง กลีบปากเป็น 3 หยัก สีขาวมีจุดสีชมพูอมม่วง ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกขนาด 2-3 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤกษภาคม
               จุดเด่นของกุหลาบชนิดนี้อยู่ที่เดือยยาวและงอน จนปลายเดือยชี้กลับเข้าไปหาตัวดอก อาจเรียกว่า กล้วยไม้เดือยงาม ก็ได้  
 กุหลาบมาลัยแดง(Aerides multiflora Roxb.)
               กุหลาบมาลัยแดงมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบน่าน แตกต่างกันที่ปลายปาก คือ ปากของกุหลาบน่านเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ปากของกุหลาบมาลัยแดงเป็นรูปหัวใจ ปลายสุดของปากป้านและหยักกลาง ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์แถบภาคเหนือ อีสาน นครนายก ชลบุรี และกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบใน ประเทศเนปาล สิกขิม ภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
               กุหลาบมาลัยแดงมีลำต้นแข็งแรง ใบหนาโค้ง ซ้อนกันถี่ ใบกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งห้อยยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ก้านช่อมักมีสีคล้ำเกือบดำ ออกดอกเบียดชิดกันแน่นช่อ โดยทั่วไปจะมีกลีบดอกสีม่วงแดง มักจะมีสีจางจนถึงขาวที่โคนกลีบ และสีจะเข้มขึ้นจนสุดที่ปลายกลีบช่อดอกจะแตกแขนงถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์และอากาศเย็น ออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ต้นที่ดอกมีสีขาวล้วนเรียกว่า “มาลัยเผือก”
 กุหลาบชมพูกระบี่ กุหลาบพวงชมพู(Aerides krabiense Seidenf.)
               กุหลาบชมพูกระบี่หรือพวงชมพู พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่ และต่อมาได้พบที่จังหวัดใกล้เคียงกัน เช่นที่พังงา และเกาะต่างๆ ในบริเวณนั้น รวมทั้งที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซียด้วย โดยจะพบขึ้นอยู่ตามหน้าผาริมทะเลที่ได้รับแสงแดดเต็มที่
               กุหลาบชมพูกระบี่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลกุหลาบที่พบในประเทศไทย เป็นกุหลาบที่ต้นมักแตกเป็นกอ ใบแคบหนา โค้งงอและห่อเป็นรูปตัววี ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมีจุดประสีม่วงแดงอยู่ทั่วไปและปรากฎมากขึ้นเมื่อถูกแดดจัดหรืออากาศแห้งแล้งเช่นเดียวกับใบเข็มแดง
               กุหลาบชมพูกระบี่ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ช่อดอกยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อเอนขนานไปกับใบ ปลายช่อโค้งลง บางต้นพบช่อดอกแตกแขนงด้วย มีเดือยดอกสั้นมาก ปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้มกลางแผ่นปากมีสีแดงเข้ม ดอกคล้ายกุหลาบมาลัยแดง หรือกุหลาบน่าน จุดสังเกตที่เด่นชัดคือลักษณะของปลายปากที่แตกต่างกัน คือ กุหลาบน่านปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน กุหลาบมาลัยแดงปลายปากป้านและหยักกลาง ส่วนกุหลาบชมพูกระบี่ปลายปากกว้างและมน
 กุหลาบน่าน กุหลาบเอราวัณ กุหลาบไอยรา(Aerides rosea Loddiges ex Lindl. & Paxt.)
               กุหลาบน่านเป็นพวกที่มีเดือยดอกสั้นมาก เห็นเป็นตุ่มขนาดใหญ่ มีปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน ปลายใบหยักกลางแต่หยักไม่เท่ากัน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเท่านั้น และพบน้อยมาก นอกจากนี้ยังพบในภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีน
               กุหลาบน่านช่อดอกมีก้านส่งแข็ง ชี้เฉียงลง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง ถ้าต้นสมบูรณ์ ช่อดอกจะแตกแขนง ดอกเบียดกันแน่นช่อ ดอกใหญ่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกในเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน
 กุหลาบกระเป๋าเปิด(Aerides falcata Lindl.)
               กุหลาบกระเป๋าเปิดพบขึ้นอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและยังพบในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม เป็นกล้วยไม้ที่มีปลายปากกว้างอ้าออก ยื่นไปข้างหน้า มีเดือยดอกค่อนข้างตรง ซ่อนอยู่ใต้ปลายปาก อยู่ชิดขนานกับปลายปาก ใบยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร
               กุหลาบกระเป๋าเปิดออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอกห้อย ช่อรูปทรงกระบอก กลีบปากมี 3 แฉก เปิดกว้าง ริมแผ่นปากเป็นฝอย มีลายสีม่วงแดงแล้วจางเป็นสีขาว พื้นกลีบดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีม่วงอมชมพูที่ปลายกลีบ ขนาดดอกประมาณ 2.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอม
ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/orchid/sec04p08.html